Accessibility

Accessibility Tools

โลโก้กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

ล่ามภาษามือ

DEP : กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

คู่มือการจัดบริการล่ามภาษามือ ดาวโหลด 

  เปิดอ่านในรูปแบบ E-Book ได้ที่นี่one page lamphasamux 2024

 

 ผู้ที่สามารถขอรับบริการล่ามภาษามือได้ /คุณสมบัติ 
     1. คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
     2. ผู้ดูแลคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
     3. หน่วยงานหรือองค์กรที่มีหน้าที่ให้บริการ
ประเภทการให้บริการ
คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย หรือผู้ดูแล มีสิทธิยื่นคำขอรับบริการล่ามภาษามือ ในกรณี ดังนี้
        1. การให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข
        2. การสมัครงานหรือการติดต่อประสานงานด้านการประกอบอาชีพ
        3. การร้องทุกข์ การกล่าวโทษ หรือเป็นพยานในชั้นพนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
        4. การเข้าร่วมประชุม สัมมนา หรือการฝึกอบรม รวมทั้งเป็นผู้บรรยายโดยหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรภาคเอกชนเป็นผู้จัดซึ่งมีคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายเข้าร่วมด้วย
        5. บริการอื่นใด การติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐ และการขอรับบริการสาธารณะ ดังนี้
           1) งานทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน
           2) การขอใบอนุญาตขับขี่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ หรือบัตรแสดงตนอื่น ๆ ตามกฎหมาย
           3) การจัดทำนิติกรรมสัญญาและขออนุมัติหรืออนุญาตต่าง ๆ
           4) การขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย การให้ปากคำต่อเจ้าพนักงานตามกฎหมาย และการไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาทต่าง ๆ รวมถึงการยื่นคำฟ้องหรือคำให้การ ในชั้นศาลในฐานะเป็นโจทก์ จำเลย หรือพยานบุคคล
           5) การฝึกงาน ฝึกสอน หรือการสอบวัดผล เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่การจัดบริการในสถาบันการศึกษา 
           6) การขอรับบริการสาธารณะอื่น ๆ เพื่อสนองตอบความจำเป็นพื้นฐานของคนพิการและบุคคลในครอบครัวซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของคนพิการ
 ขั้นตอนการจัดบริการ
      1. รับคำขอบริการล่ามภาษามือ (แบบ ลม.03) คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายยื่นคำขอรับบริการล่ามภาษามือ ณ หน่วยจัดบริการล่ามภาษามือตามพื้นที่ (ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดทุกจังหวัดและองค์กรคนพิการที่เป็นหน่วยจัดบริการ)
      2. ตรวจสอบเอกสารและพิจารณาคำขอรับบริการล่ามภาษามือ ประกอบแบบ ลม.03 เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแล้วให้ตรวจสอบความถูกต้องโดยพิจารณาจากเอกสารดังต่อไปนี้
           1) บัตรประจำตัวคนพิการ
           2) บัตรประจาตัวประชาชนของผู้ดูแล (กรณีที่ผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้ยื่นคำขอแทนคนพิการ)
           3) หนังสือขอรับการสนับสนุนล่ามภาษามือ (กรณีหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งมีหน้าที่ให้บริการ ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ด้านการประกอบอาชีพ/สมัครงาน กล่าวโทษร้องทุกข์กล่าวโทษ/คดีความ ในชั้นพนักงานสอบสวน อาจดาเนินการยื่นขอ แทนคนพิการหรือ ผู้ดูแลคนพิการได้แต่ต้องแจ้งเป็นหนังสือว่าไม่มีงบประมาณหรือมีไม่เพียงพอที่จะจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายอื่นแก่ล่ามภาษามือ)
  1. ติดต่อประสานจัดหาล่ามภาษามือ เจ้าหน้าที่ประสานติดต่อจัดหาล่ามภาษามือในพื้นที่จังหวัดก่อน หากไม่มีล่ามภาษามือ ในพื้นที่ให้ประสานติดต่อยังพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงก่อน โดยสามารถดูข้อมูลล่ามภาษามือได้ทางเว็บไซต์ www.dep.go.th หรือประกาศคณะอนุกรรมการฯ เรื่อง การจดแจ้งเป็นล่ามภาษามือชุมชน
  2. แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขอรับบริการ (ภายใน 3 วัน) ในกรณีคำขอไม่ถูกต้องให้แจ้งผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
  3. ล่ามภาษามือให้บริการตามคำขอ
  4. ล่ามภาษามือรายงานผลการให้บริการต่อหน่วยจัดบริการ (แบบ ลม.04) เมื่อล่ามภาษามือได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นล่ามภาษามือแล้ว ให้ล่ามภาษามือรายงานผลการปฏิบัติงาน ต่อหน่วยจัดบริการ ตามแบบรายงานผลการปฏิบัติงานล่ามภาษามือ (ลม.04) พร้อมส่งหลักฐานการเบิกจ่ายค่าตอบแทน (ใบสำคัญรับเงิน/ใบเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ) โดยเร็วภายใน 7 วัน
  5. หน่วยจัดบริการตรวจสอบรายงานผลการปฏิบัติงาน แบบ ลม 03 – ลม 05 และดำเนินการเบิกจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นให้ล่ามภาษามือทันทีที่ได้รับเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง ยกเว้นหน่วยจัดบริการล่ามภาษามือที่เป็นหน่วยงานราชการให้จ่ายค่าตอบแทนโดยเร็ว และเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงิน ใบสำคัญรับเงิน ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน แบบ บก.111 ไว้ให้ สตง.หรือตรวจสอบภายในตรวจตามระเบียบราชการ
วิธีการขอรับบริการ
       1. คนพิการทางการได้ยินหรือผู้ดูแลคนพิการที่ประสงค์จะขอใช้บริการล่ามภาษามือสามารถยื่นคำขอรับบริการล่ามภาษามือได้ ณ หน่วยจัดบริการล่ามภาษามือ โดยจะต้องติดต่อยื่นขอรับบริการ ตามแบบขอรับบริการล่ามภาษามือ (ลม.03) โดยเร็วที่สุด เมื่อรู้ว่าจะต้องใช้บริการล่ามภาษามือ หรือแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน ในวันและเวลาราชการ วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น. ยกเว้นกรณี ดังต่อไปนี้
          1) ประสบอุบัติเหตุ   
           2) ป่วยหนักต้องไปพบแพทย์
           3) มีคดีความ 
  1. การยื่นขอรับบริการให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการยื่นคำขอ ดังนี้
    1) เดินทางมายื่นด้วยตนเอง ณ หน่วยจัดบริการ
    2) ทางโทรศัพท์, Line,SMS, โทรสาร (FAX)
    3)  ทางหนังสือ เอกสารจากหน่วยงานที่ให้บริการ
    4)  ทางอินเตอร์เน็ตหรือช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กำหนด
หน่วยบริการล่ามภาษามือ  87 แห่ง ได้แก่
       1. สนง. พมจ. 76 จังหวัด
       2. องค์กรคนพิการที่ได้รับการประกาศเป็นหน่วยบริการล่ามภาษามือ 11 องค์กร
ที่
องค์กรคนพิการ
พื้นที่ให้บริการ
ที่อยู่
ติดต่อ
1
สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย
76 จังหวัด และ กทม. 
1/8-9 ซอยอ่อนนุช 64 แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 
ID Line: nadt.lam  https://line.me/ti/p/w-yo63HUgS 
โทรศัพท์: 02-012-7459, 02-012-7460
โทรสาร: 02-012-7461
2
กลุ่มสมาชิกคนหูหนวกภาคเหนือ
ภาคเหนือ จำนวน 17 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน พะเยา เชียงราย แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์อุทัยธานี กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
182/4 หมู่ที่ 10 ซอยโชคทวี 2 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180            
โทรศัพท์: 053-218-455
3
สมาคมสมาพันธ์เครือข่ายเด็กและสตรีหูหนวกไทย
พื้นที่ 26 จังหวัด ได้แก่กรุงเทพมหานคร เพชรบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย นครสวรรค์ อุทัยธานี และกำแพงเพชร
98/6 บ้านกลางเมือง ซอยอ่อนนุช 17 แยก 16 ถนนสุขุมวิท77 เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
 โทรศัพท์ : 092-812-7322
 โทรสาร : 02-720-0640    Emai: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. 
4
กลุ่มสมาชิกคนหูหนวกภาคกลาง
ภาคกลาง จำนวน 26 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ชลบุรี นนทบุรี นครปฐม พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ระยอง สมุทรปราการ นครนายก สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ลพบุรี ปทุมธานี ปราจีนบุรี เพชรบุรี และสระแก้ว
223 ถนนสาครธนากร ตำบลสนามจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม73000 
 โทรศัพท์: 053-218-455
 5
มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ
พื้นที่ปริมณฑล ได้แก่ จังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร
27/5 ซอย อรุณอมรินทร์ 39 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 02-886-1188, 02-886-0955, 02-424-9230
โทรสาร: 02-886-00956 ต่อ 113
ID Line @dscufp  
https://lin.ee/UFFaKzyw 
สมาคมคนหูหนวกแห่งกรุงเทพมหานคร 
กรุงเทพมหานคร
 
 
ชมรมคนหูหนวกจังหวัดกาญจนบุรี 
 จังหวัดกาญจนบุรี
2/2 ห้องแถววัดใต้ ถนนวิสุทธรังสี ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง กาญจนบุรี 71000            
โทรศัพท์: 087-167-8578
ชมรมคนหูหนวกจังหวัดพิษณุโลก
 จังหวัดพิษณุโลก
กองการประปา เทศบาลนครพิษณุโลก (ส่วนวัดโพธิ์) ถนนพิษณุโลก-เต็งหนาม ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์: 084-929-1618 (ล่ามภาษามือ),
096-987-7384
ชมรมคนหูหนวกจังหวัดสุโขทัย
 จังหวัดสุโขทัย
119/1 หมู่ที่ 1 ตำบลปากแคว อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 64000
โทรศัพท์ : 055-010-107
10 
กลุ่มสมาชิกคนหูหนวกภาคใต้
ภาคใต้ จำนวน 14 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ระนอง ชุมพร สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส  และสงขลา
133 ซอย 3  ถนนเพชรเกษม ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110         
โทรศัพท์: 074-802-112
โทรสาร: 074-802-112
11 
กลุ่มสมาชิกนหูหนวกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  
20 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ มุกดาหาร นครพนม สกลนคร บึงกาฬ หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย ชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา 
60/23 ถ.สงเปลือย ต.กาฬสินธุ์ อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ 46000
โทรศัพท์:  โทร 08-3453-6127
Email This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
หมายเหตุ : ประกาศกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เรื่อง การประกาศกำหนดหน่วยรับบริการล่ามภาษามือ
เอกสารที่เกี่ยวข้อง:
ดาวโหลดแบบฟอร์มการจัดบริการล่ามภาษามือ
ประกาศกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เรื่อง กำหนดแบบคำขอรับบริการ แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน แบบรายงานผลการจัดบริการ และบัตรประจำตัวล่ามภาษามือชุมชน ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยบริการล่ามภาษามือ พ.ศ. 2561
ประกาศกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่าตอบแทนการให้บริการล่ามภาษามือ ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 
คู่มือล่ามในกระบวนการยุติธรรม (ภาษาไทย)
ประกาศกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เรื่อง กำหนดหน่วยบริการล่ามภาษามือขององค์กรด้านคนพิการที่ได้รับรองมาตรฐาน พ.ศ.2561
 
 การจดแจ้งเป็นล่ามภาษามือชุมชน 
อัพเดทข้อมูลล่ามภาษามือ (20 สิงหาคม 2567) 
ประเมินความรู้และทักษะการเป็นล่ามภาษามือชุมชนเพื่อการจดแจ้งเป็นล่ามภาษามือชุมชน ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประจำปี 2567
ประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาล่ามภาษามือ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประเมินความรู้ และทักษะการเป็นล่ามภาษามือที่จดแจ้งทั้งก่อนและหลังการจดแจ้ง ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2567 ข้อ 9(4) 
ประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาล่ามภาษามือ เรื่อง วิธีการในการจดแจ้งเป็นล่ามภาษามือและกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่เป็นล่ามภาษามือ ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ข้อ 9(1) 
แบบคำขอจดแจ้งหรือต่ออายุจดแจ้งเป็นล่ามภาษามือชุมชน (ลม 01)
หลักสูตรที่สามารถยื่นต่ออายุ รับรองในประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาล่ามภาษามือ ครั้งที่ 8/2566  เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566
ที่
ชื่อหลักสูตร
หน่วยจัด
จำนวนชั่วโมง
1
หลักสูตรพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะอื่นที่จำเป็นของล่ามภาษามือสำหรับกิจการโทรทัศน์
สมาคมล่่ามฯ
48 ชั่วโมง
2
หลักสูตรพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านการแปลของล่ามภาษามือสำหรับกิจการโทรทัศน์
สมาคมล่ามฯ
60 ชั่วโมง
3
หลักสูตรการอบรมการเป็นล่ามภาษามือสำหรับการให้บริการโทรทัศน์
กสทช.
72 ชั่วโมง
4
ภาษามือไทยสำหรับการล่าม
ม. สวนดุสิต
48 ชั่วโมง
5
ล่ามภาษามือทางการศึกษา
ม. สวนดุสิต
48 ชั่วโมง
6
ล่ามภาษามือทางการแพทย์และสาธารณสุข
ม. สวนดุสิต
48 ชั่วโมง
7
ล่ามทางการกีฬาและการท่องเที่ยว
ม. สวนดุสิต
48 ชั่วโมง
8
หลักสูตรล่ามในกระบวนการยุติธรรม 
(ขอใช้หลักสูตรจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ)
พก.
18 ชั่วโมง
9
หลักสูตรภาษามือไทยเพื่อการสื่อสาร
พก.
30 ชั่วโมง
10
การพัฒนาศักยภาพล่ามภาษามือ ในประเด็นเศรษฐกิจการเงิน
พก.
18 ชั่วโมง
 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์: 02-354-3388 ต่อ 207
  
ระบบล่ามภาษามือ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ระบบเดิม)
ล่ามภาษามือ
 
 

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
Copyright © 2020 - 2023 qlink