Accessibility

Accessibility Tools

โลโก้กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

การจัดบริการผู้ช่วยคนพิการ

DEP : กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

>>> คู่มือจัดบริการผู้ช่วยคนพิการ เปิดคู่มือ E-Book

บุคคลที่สนใจเข้ารับการอบรมผู้ช่วยคนพิการ

คลิกสมัครแบบออนไลน์ ฟอร์มใบสมัคร

คุณสมบัติของบุคคลที่จะเป็นผู้ช่วยคนพิการ

(1) มีสัญชาติไทย

(2) มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีขึ้นไป

(3) มีสุขภาพแข็งแรง สามารถช่วยเหลือดูแลและเคลื่อนย้ายคนพิการได้

(4) มีความรู้อย่างน้อยอ่านและเขียนภาษาไทยได้

(5) มีความพร้อมและสมัครใจปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยคนพิการ ไม่ว่าจะคิดเป็นรายชั่วโมงหรือรายวัน

ลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่จะเป็นผู้ช่วยคนพิการ

(1) มีพฤติกรรมหรือมีประวัติเคยทำร้ายหรือกระทำความรุนแรงต่อคนพิการหรือบุคคลในครอบครัว

(2) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

(3) เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขกำหนด

(4) ติดยาเสพติดให้โทษ

(5) เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง

(6) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(7) เคยกระทำความผิดหรือถูกร้องเรียนในความผิดเกี่ยวกับเพศ

วิธีการยื่นคำขอใช้บริการผู้ช่วยคนพิการ

1. คุณสมบัติคนพิการที่ประสงค์จะยื่นคำขอมีผู้ช่วยคนพิการ ดังนี้

  1. มีบัตรประจำตัวคนพิการ
  2. มีความจำเป็นต้องมีผู้ช่วยคนพิการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจวัตรที่สำคัญ
    ในการดำรงชีวิตได้ หรือเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป
  3. ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ หรือผู้ดูแลคนพิการไม่สามารถดูแลคนพิการในขณะนั้นได้

2.หลักเกณฑ์การพิจารณาคำขอมีผู้ช่วยคนพิการ

(1) บุคคลนั้น มีสภาพความพิการมากจนไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรที่สำคัญในการดำรงชีวิตได้ด้วยตนเอง

(2) หากคนพิการไม่ได้ปฏิบัติกิจวัตรที่สำคัญในการดำรงชีวิต จะส่งผลอย่างมากต่อการดำรงชีวิต สุขภาพอนามัย ภาวะจิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สภาพความเป็นอยู่และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

(3) การพิจารณาอนุมัติคำขอมีผู้ช่วยคนพิการ ให้คำนึงถึงความต้องการจำเป็นในการปฏิบัติกิจวัตรที่สำคัญในการดำรงชีวิต
หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไปอาจพิจารณาจาก
ก. ระดับความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง ตามแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของคนพิการ
ในแบบคำขอมีผู้ช่วยคนพิการ (ผช.1)
ข. แบบประเมินกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธล เอเดแอล ได้คะแนน ADL ต่ำกว่า XX คะแนน
ค. ความสามารถของคนพิการในการอยู่คนเดียวตามลำพังและปลอดภัย

(4) กรณีคนพิการมีความต้องการในการมีผู้ช่วยคนพิการเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน ให้หน่วยจัดบริการ พิจารณาจากความสามารถ
ในการจัดบริการของผู้ช่วยคนพิการ

(5) กรณีคนพิการที่คนพิการไม่ได้รับการอนุมัติคำขอมีผู้ช่วยคนพิการ สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์จังหวัด พิจารณาคำขอมีผู้ช่วยคนพิการได้

สถานที่ยื่นคำขอมีผู้ช่วยคนพิการ

วิธีการยื่นคำขอมีผู้ช่วยคนพิการ ให้ยื่นคำขอต่อหน่วยบริการในพื้นที่ดังต่อไปนี้

(1) ในกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่นหรือแจ้งต่อกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)
ประธานชุมชน องค์กรเอกชน หรือหน่วยบริการในพื้นที่ ตามที่อธิบดีหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประกาศกำหนด

(2) ในจังหวัดอื่น
ให้ยื่นคำขอต่อสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ศูนย์บริการคนพิการประจำจังหวัด อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือประธานชุมชน องค์กรเอกชน หรือหน่วยบริการในพื้นที่ ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด

หลักฐานที่ใช้ยื่นคำขอมีผู้ช่วยคนพิการ

คนพิการที่ประสงค์จะยื่นคำขอมีผู้ช่วยคนพิการ จะต้องเตรียมหลักฐานไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ณ หน่วยจัดบริการในพื้นที่ ดังต่อไปนี้

(1) แบบคำขอมีผู้ช่วยคนพิการ (แบบ ผช.1) จำนวน 1 ชุด

(2) สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ จำนวน 1 ฉบับ

(3) รูปถ่าย 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป

สถานการณ์การจัดบริการผู้ช่วยคนพิการในประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ การมีผู้ช่วยคนพิการ การช่วยเหลือคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล และสิทธิของผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ. 2566

ประกาศกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เกี่ยวกับ การสนับสนุนการจัดบริการผู้ช่วยคนพิการ

ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ การมีผู้ช่วยคนพิการ การช่วยเหลือคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล และสิทธิของผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ. 2566

ประกาศกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 ดังนี้

1. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่จะเป็นผู้ช่วยคนพิการ

2. กำหนดหน่วยจัดบริการผู้ช่วยคนพิการ (ในกรุงเทพมหานคร)

3. กำหนดหน่วยจัดบริการผู้ช่วยคนพิการ (ในจังหวัดอื่น)

4. กำหนดหลักสูตรและวิธีการฝึกอบรมเป็นผู้ช่วยคนพิการ

5. กำหนดหน่วยจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้ช่วยคนพิการ - วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

6. กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการรับจดแจ้งเป็นผู้ช่วยคนพิการ

7. กำหนดหน่วยจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้ช่วยคนพิการ - ฉบับที่ 2 - สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ไฟล์คู่มือบริการผู้ช่วยคนพิการ เอกสารและแบบฟอร์มที่ เกี่ยวข้อง


ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง